การใส่ตัวเลขในจตุรัสกล (ตารางเลขคี่) โดยวิธีขึ้นบันได

มาฝึกคิดเลขง่าย ๆ แบบใหม่ ป้องกันสมองเสื่อมกันเถิด (ตอนที่ 5) !!

ในครั้งก่อน  ได้ให้คำจำกัดความ สมองเสื่อม คือ อะไร

การเปลี่ยนแปลงของสมองในวัยสูงอายุ เป็นอย่างไร  และทำอย่างไร

สมองไม่เสื่อม   ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ  ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุ

สมองเสื่อม  อยู่  4  วิธี  ซึ่งคงจะไม่กล่าวซ้ำอีกในครั้งนี้   





ในจุลสารของบริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด  

" 10 อาการเตือน สำหรับโรคอัลไซเมอร์"   เป็นเรื่องที่น่าใส่ใจเป็น

อย่างมาก จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อ  ดังนี้





10 อาการเตือน สำหรับโรคอัลไซเมอร์



1. ลืม ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน



คนทั่วไปมีลืมการนัดหมาย ลืมชื่อเพื่อน หรือเบอร์โทรศัพท์

เพื่อนได้ในบางครั้ง แต่จะจำได้ในภายหลัง แต่ผู้ป่วย

อัลไซเมอร์ ลืมบ่อยกว่าและฟื้นความจำไม่ได้ โดยเฉพาะ

เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา



2. ทำกิจวัตรที่เคยทำมาไม่ได้



คนที่มีธุระยุ่งอาจจะไม่มีสมาธิเป็นครั้งคราวได้ เขาอาจจะลืม

อาหารอุ่นไว้บนเตา แต่จะจำได้เมื่อต้องการรับประทาน

แต่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะจำไม่ได้และทิ้งอาหารที่อุ่นไว้

แม้ว่าทานจนอิ่มแล้ว



3. มีปัญหาในการใช้ภาษา



ทุก ๆ คนต้องเคยบ้างที่ใช้คำพูดผิด แต่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

อาจจะลืมคำง่าย ๆ และใช้คำที่ไม่เหมาะสมแทน ทำให้

คนอื่นเข้าใจลำบาก



4. ไม่รู้เวลาและสถานที่



เป็นปกติที่ใครบางครั้งลืมว่าเป็นวันอะไรของสัปดาห์

หรือลืมว่าตัวเองไปที่ไหน แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำถนน

หนทางที่ใช้ประจำวันไม่ได้ ไม่รู้ว่ามาได้อย่างไรและ

กลับบ้านอย่างไร



5. การตัดสินใจแย่ลง

เราอาจจะไม่ไปหาแพทย์ แม้ว่าจะเป็นไข้ แต่ถ้าเป็น

มาก ในที่สุดก็ต้องไปพบแพทย์ แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ไม่รู้ว่าการติดเชื้อเป็นไข้เป็นปัญหาที่จะต้องไปพบ

แพทย์รักษา ผู้ป่วยอาจจะใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ในวันอากาศ

ร้อน



6. มีปํญหาในการคิดแบบนามธรรม

บางครั้งคนทั่วไปอาจคิดเลขไม่ออก แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ไม่รู้แม้กระทั่งตัวเลขคืออะไร และเอาไว้ทำอะไร คนทั่วไป

อาจจะฉลองวันเกิด แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ไม่รู้ว่าวันเกิดคือ

อะไร



7. วางของผิดที่

บางคนอาจจะวางกุญแจหรือกระเป๋าไว้ผิดที่ แต่ผู้ป่วย

อัลไซเมอร์ จะวางของในที่ ๆ ไม่ควรวาง เช่น วาง

เตารีดในตู้เย็น เก็บกางเกงในไว้บนโคมไฟ



8. อารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

ทุกคนมีอารมณ์เศร้า อารมณ์เีสียได้เป็นครั้งคราว แต่

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

จากเงียบ ๆ เป็นร้องไห้ จากอารมณ์ดีเป็นโกรธ โดยไม่มี

เหตุผล



9.บุคลิกภาพเปลี่ยนไป

ปกติบุคลิกภาพจะเปลี่ยนไปตามอายุได้ แต่ผู้ป่วย

อัลไซเมอร์ จะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว อาจจะสับสนมาก

สลับกับขี้ระแวง หรืออยู่เงียบ ๆ การเปลี่ยนแปลงรวมถึง

ความกลัวโดยไม่มีเหตุผล หรือการแสดงออกที่ไม่สมควร



10. ขาดการคิดริเริ่ม

คนทั่วไป อาจจะเบื่องานบ้าน การทำธุรกิจ หรือ การเข้า

สังคม แต่ไม่นานก็จะกลับมาเริ่มทำใหม่ได้ แต่ผู้ป่วย

อัลไซเมอร์ มักจะอยู่เฉยรอให้คนอื่นมาหา มาชักชวน

ให้ทำสิ่งต่าง ๆ



จึงสมควรที่จะตรวจสอบตัวท่านดู ว่ามีอาการเช่นได้กล่าว

มาข้างต้นบ้างหรือไม่   เพื่อความไม่ประมาท  หากมีข้อสงสัย

ประการใด  โปรดไปพบและปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญต่อไป





----------------



ตามที่ผมได้เสนอฝึกคิดเลขง่าย ๆ แบบใหม่  ป้องกันสมองเสื่อม

แบบของผม  รวม  4 วิธี ไปแล้วนั้น  ดังนี้



1.  การบวกเลข  จากด้านหน้าไปด้านหลัง

2.  การลบเลข   โดยใช้วิธีบวกเลขแทน

3.  การคูณเลข   โดยคูณไขว้ชั้นเดียว   

4.  การถอดกรณฑ์หรือราก   โดยวิธีคิดย้อนกลับ  

 

ผมใคร่ขอเสนอเพิ่มเติมอีกวิธีหนึ่ง  ได้แก่   การใส่ตัวเลขลงใน

จตุรัสกล  ก็เป็นการฝึกสมองที่ดีอีกวิธีหนึ่ง  และได้รับความเพลิดเพลิน
ดีด้วย





5.  การใส่ตัวเลขในจตุรัสกล (ตารางเลขคี่) โดยวิธีขึ้นบันได



จตุรัสกลนี้  เป็นเกมคลาสสิกทางคณิตศาสตร์ดของปัญญาชน

ชาวจีนในสมัยโบราณ  โดยมาจากการค้นพบตารางตัวเลข

9 ช่องบนหลังเต่ายักษ์ตัวหนึ่ง  ที่ถูกตั้งชื่อว่า  "ตาราง

มหัศจรรย์ของหลอซู"



ต่อมา ได้ถูกพัฒนาตารางมาเป็น  25 ช่อง   49 ช่อง

และ  81 ช่อง  ในภายหลัง



คราวนี้  เรามาใช้ในการฝึกสมอง  โดยใช้ตาราง  5 X  5  ช่อง

หรือ  25  ช่อง 



โจทย์   จงใส่ตัวเลข  1-25  (ไม่ซ้ำกัน)  ลงในตารางแบบจตุรัส 

ขนาด  5 X 5  ช่อง  หรือ  25 ช่อง 

ให้ผลรวมของเลขในตาราง  ทั้งแถวแนวตั้ง แนวนอน และแนว

ทแยงมุม  มีค่าเท่ากันหมด





ลองทำดูนะครับ





เฉลย   การใส่ตัวเลขในจตุรัสกล  (ตารางเลขคี่) โดยวิธีขึ้นบันได



ปกติ ถ้าเราลองกรอกตัวเลขดู  ทดลองไปเรื่อย ๆ   ก็คงจะยาก

และใช้เวลานานมาก  หากไม่ทราบวิธีกรอกสำเร็จรูป





หลักการที่สำคัญ 

(กรุณาทำความเข้าใจช้า ๆ สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นเคย) 



เหมือนกับเราเดินขึ้นบันได  เมื่อเทียบกับ

ตาราง  ก็เหมือนกับเรากรอกตัวเลขเฉียงไปทางขวา 1 ช่อง

ไปเรื่อย ๆ   เมื่อกรอกตัวเลขถึงสุดตารางด้านขวา  ก็ต้องนำ

แถวตารางด้านซ้ายสุด มารองรับแทน แล้วก็กรอกตัวเลข

เฉียงไปทางขวาเรื่อย ๆ ต่อไป  และเมื่อกรอกตัวเลขถึงสุด

ตารางด้านบน  ก็ต้องนำแถวตารางด้านล่างสุด มารองรับแทน

และถ้ากรอกตัวเลขแล้วติดตัวเลขอื่นที่กรอกไปแล้ว  ก็ให้

กรอกตัวเลขที่ช่องว่างด้านล่างที่ติดกันของตัวเลขล่าสุดนั้นแทน

แล้วก็กรอกตัวเลขเฉียงไปทางขวาต่อไปตามเดิม หลักการสำคัญ

ก็มีเพียงเท่านี้  



(เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นในการกรอกตัวเลขเฉียงไปทางขวานั้น 



1.  เมื่อกรอกตัวเลขถึงสุดตารางด้านขวา  ก็ต้องย้ายข้างมา

กรอกต่อในแถวตารางด้านซ้ายสุดแทน  และ 

2.  เมื่อกรอกตัวเลขถึงสุดตารางด้านบน  ก็ต้องย้ายมากรอกใน

แถวตารางด้านล่างสุดแทน  (หรือเรียกว่า  สูงสุดสู่สามัญ)) 

 



ให้เริ่มกรอกตัวเลข  1  ช่องตรงกลางของแถวบนสุด  จากนั้น

ใส่เลข 2  ที่ช่องแถวล่างสุดของแถวถัดไปด้านขวา  แล้วใส่

เลข 3  เฉียงไปทางขวาเรื่อย ๆ ...



เมื่อกรอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว   จะเป็นแบบตารางข้างล่างนี้







 

 

ลองทดสอบดูว่า  ผลรวมของเลขในตาราง  ทั้งแถวแนวตั้ง

แนวนอน และแนวทแยงมุม  มีค่าเท่ากันหมดตามโจทย์หรือไม่





ลองทำดู  แล้วจดเวลาที่ทำเสร็จไว้ด้วย

เวลาที่ทำเสร็จ ..........นาที.........วินาที




แล้วทำซ้ำ ๆ  วันละ  5 ครั้ง  จนชำนาญ สักประมาณ  1  เดือน

แล้วจึงจะเปลี่ยนจตุรัสกล  เป็นแบบอื่น  เช่น  7 X 7 ช่อง

และ  9 X 9  ช่อง ดูบ้าง



ข้อสำคัญ  :  การป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น   ให้หาสมุดสัก

เล่มหนึ่งมาทำแบบฝึกหัด  และควรจดเวลาที่ทำเสร็จไว้ด้วย  ว่าทำเสร็จ

ใช้เวลาไปเท่าไร  และฝึกซ้ำ ๆ กัน  เวลาจะน้อยลงหรือไม่ 

หากน้อยลง ก็แสดงว่า  ดีขึ้น ได้ผล



หวังว่า  ท่านจะได้รู้จักและเข้าใจในเรื่องสมองเสื่อมในเบื้องต้น  และวิธี

ง่าย ๆ ในการป้องกัน   สำหรับท่านที่ยังไม่อยู่ในวัยสูงอายุ  ได้ทราบไว้

ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากทีเดียว และรู้จักป้องกันแต่เนิ่น ๆ ด้วย


-----------------

ที่มา  :   บริษัท เอไซ (ประเทศไทย)  มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, "10  อาการ

            เตือน สำหรับโรคอัลไซเมอร์"  ในจุลสารของบริษัทฯ

 



ภาพประกอบภาพแรก   :   อินเตอร์เน็ต

ภาพประกอบอื่นและตกแต่งภาพ    :    สุรศักดิ์

 

ขอขอบคุณ ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=390933

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand