home » การทำแผล »

การทำแผล

การทำแผลเป็นการช่วยส่งเสริมการหายของแผล ในการทำแผลที่ถูกวิธี จะช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และลดการติดเชื้อเพิ่มเติม

การทำแผลแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  1. การทำแผลชนิดแห้ง ใช้ทำแผลชนิดที่ปากแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดที่แพทย์เย็บขอบแผลติดกัน แผลมีท่อระบาย
  2. การ ทำแผลชนิดเปียก ให้ทำแผลชนิดที่ปากแผลเปิด เช่น แผลกดทับ แผลผ่าตัดที่มีการติดเชื้อแล้วขอบแผลแยก แผลผ่าตัดที่เย็บขอบแผลแต่ไม่ผูกด้ายหรือไหมที่เย็บเข้าหากัน

วิธีทำแผลชนิดแห้ง

  1. ดูขนาดของแผลว่าต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์อะไรบ้าง
  2. จัดท่านอนผู้ป่วยให้เหมาะสม เปิดเฉพาะตำแหน่งที่มีแผล
  3. ล้างมือให้สะอาด ถูกต้องตามวิธีการและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการทำแผล ตามความเหมาะสมกับแผลของผู้ป่วย
  4. จัด วางชุดทำแผลให้ใกล้และสะดวกสำหรับทำแผล เป็นตำแหน่งที่ผู้ทำไม่ทิ้งสำลีใช้แล้ว ข้ามกรายของใช้ในชุดทำแผล จัดวางภาชนะสำหรับรองรับเศษสำลี ผ้าก๊อซ จากการทำแผลไว้ใกล้ๆ ขณะทำแผล
  5. เปิดชุดทำแผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อแล้วเตรียมน้ำยาสำหรับทำแผล ถ้าเป็นแผลชนิดแห้ง ใช้เพียงแต่แอลกอฮอล์ 70 % เพียงอย่างเดียว
  6. ใช้มือจับผ้าด้านนอกของชุดทำแผลเพื่อยกด้ามปากคีบขึ้นแล้วหยิบปากคีบออกจากชุดทำแผล
  7. ใช้ ปากคีบชนิดมีเขี้ยวในชุดทำแผลหยิบผ้าปิดแผลด้านในที่ชิดตัวแผลออกแล้วทิ้งลง ในภาชนะที่เตรียมไว้ ให้สังเกตว่าแผลมีอาการบวมแดง กดเจ็บ และสิ่งที่ไหลออกจากแผล ซึ่งติดอยู่กับผ้าปิดแผลที่เอาออก
  8. ใช้ ปากคีบไม่มีเขี้ยวหยิบสำลีชุบ แอลกอฮอล์ 70% และใช้ปากคีบมีเขี้ยวจับสำลีให้ปากคีบมีเขี้ยวอยู่ด้านล่าง บิดหมาดๆ แล้วใช้ปากคีบมีเขี้ยวจับสำลีดังกล่าว เช็ดแผล และผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น เช็ดจนแผลและผิวหนังรอบๆแผลสะอาด โดยเช็ดบริเวณด้านในออกมาด้านนอก
  9. ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยวหยิบผ้าก๊อซปิดแผลให้มีขนาดใหญ่กว่าแผลโดยรอบประมาณ 1 นิ้ว ปิดคลุมบนแผล ห้ามวางลงข้างแผลแล้วดึงเลื่อนมาปิดแผล
  10. ปิดปลาสเตอร์ตามแนวทางขวางกับลำตัวของผู้ป่วย จัดท่านอนผู้ป่วยให้เรียบร้อย
  11. เก็บเครื่องใช้ในการทำแผล แล้วนำไปแช่ในภาชนะที่เตรียมน้ำผงซักฟอกไว้ล้างมือให้สะอาดหลังจากกิจกรรมกับผู้ป่วย

หมายเหตุ การแช่ชุดทำแผลที่ใช้แล้ว แช่นานประมาณ 30 นาที จึงใส่ถุงมือสะอาดแล้วนำภาชนะ
มาล้างให้สะอาด ผึ่งตากแดดให้แห้ง นำมาห่อนึ่งต่อไป

วิธีการทำแผลชนิดเปียก

ขั้นตอน การปฏิบัติเหมือนทำแผลชนิดแห้ง ข้อ 1-7 แตกต่างในเรื่องการเตรียมน้ำยาสำหรับทำแผล ขึ้นอยู่กับปัญหาของแผลโดยทั่วๆ ไป จะต้องมีแอลกอฮอล์ 70% น้ำเกลือสำหรับล้างแผล อาจเพิ่มเติมโพรวิดีนสำหรับทำความสะอาดหรือ ทาแผล ในกรณีที่แผลบวมแดง มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกมาในกรณีมีหนอง อาจต้องเพิ่มน้ำยาโฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น

ขั้นตอนการทำแผลเปียกมีดังนี้

  1. ใช้ ปากคีบในชุดทำแผลหยิบปิดแผลด้านในที่ชิดตัวแผลออกทิ้งในภาชนะที่เตรียมไว้ ถ้าพบเลือดแห้งติดแน่นให้ราดเกลือ 0.9% ไปที่ผ้าก๊อซให้เปียกก่อนดึงออก ขณะเดียวกันให้สังเกตลักษณะแผล ว่ามีอาการบวมแดง กดเจ็บและสิ่งที่ไหลออกจากแผล ซึ่งติดอยู่กับผ้าปิดแผลที่เอาออก
  2. ใช้ ปากคีบหยิบสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% บิดพอหมาดเช็ดผิวหนังบริเวณรอบๆ แผล โดยให้เริ่มเช็ดจากส่วนที่ชิดแผลก่อน แล้วจึงเช็ดบริเวณรอบนอกห่างออก 3 นิ้ว
  3. ใช้ปากคีบหยิบสำลีชุบน้ำเกลือ หรือน้ำยาล้างแผลตามความเหมาะสม บิดพอหมาดแล้วเริ่มเช็ดจากบริเวณในสุดก่อน ใช้สำลีก้อนใหม่ทำซ้ำจนแผลสะอาด (ถ้าแผลมีหนองหรือเนื้อตาย หรือพบสิ่งผิดปกติ ให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ทำการเยี่ยมบ้านได้)
  4. คีบ สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดผิวหนังที่ขอบแผลและบริเวณรอบๆ แผลอีกครั้งหนึ่งวางก๊อซชุบน้ำเกลือหรือน้ำยาอื่นๆ ตามแผนการรักษาไว้ในแผลอย่างหลวมๆ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ และถ้าแผลเปียกชื้นมากอาจใช้ผ้าก๊อซหุ้มสำลี ปิดทับอีกชั้นหนึ่ง ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำแผลชนิดแห้ง ข้อ 10 – 12

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand