home » การดูดเสมหะจากหลอดลม (Tracheal suction) »

การดูดเสมหะจากหลอดลม (Tracheal suction)

โดย วรการ  วิไลชนม์


ข้อบ่งชี้

kpg13.jpg1.   เพื่อกำจัดเสมหะในหลอดลมที่ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดออกไปได้เองด้วยการไอ ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลม หรือได้รับการเจาะหลอดลม (endotracheal or tracheostomy tube)

2.   เพื่อนำเอาเสมหะไปใช้ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 

ข้อควรระวัง

1.  ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (hypoxemia) อย่างรุนแรง

2.  ผู้ป่วยที่มีอาหารอยู่เต็มกระเพาะ จะทำให้เกิดการสำลักได้

3.  ภาวะเลือดออกผิดปกติ 


อุปกรณ์

•  สายดูดเสมหะปลอดเชื้อ

•  ถุงมือปลอดเชื้อ

•  เครื่องดูดเสมหะ

•  ตัวควบคุมสุญญากาศด้วยปลายนิ้ว (vacuum control-fingertip)

•  น้ำเกลือนอร์มัลปลอดเชื้อ

•  ขวดสะอาดปลอดเชื้อในกรณีสำหรับเก็บเสมหะ


วิธีการ

1.  ก่อนการดูดเสมหะ ถ้าผู้ป่วยหายใจเองให้เพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนที่ใช้ประมาณ 2-3 นาที ถ้าผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ
     ให้ปรับความเข้มข้นของออกซิเจนเป็น 100 % หรือปลดผู้ป่วยจากเครื่องแล้วบีบ Ambu bag ที่เปิดออกซิเจนเต็มที่ ประมาณ 
     2-3 นาที

2.  สวมมือขวาด้วยถุงมือปลอดเชื้อ ใช้มือขวาหยิบสายดูดเสมหะจากภาชนะที่เก็บแล้วกระชับสายให้อยู่ในอุ้งมือโดยระวังการ 
     ปนเปื้อน

3.  ใช้มือซ้ายถือสายจากเครื่องดูดที่ต่อเข้ากับตัวควบคุมสุญญากาศด้วยปลายนิ้ว แล้วต่อกับสายดูดเสมหะที่ถืออยู่ในมือขวา ใช้นิ้ว
     หัวแม่มือข้างซ้ายปิดรูที่ตัวควบคุมเมื่อต้องการดูด

4.  เปิดเครื่องดูดทดลองควบคุมแรงดูดให้ได้ระหว่าง 8 0 -1 2 0 มม . ปรอท

5.  ปลดข้อต่อท่อหลอดลมจากสายเครื่องช่วยหายใจหรือจากสายส่งออกซิเจน ใช้มือขวาสอดสายดูดเสมหะผ่านท่อหลอดลมอย่าง
     รวดเร็ว

6.  เมื่อสอดสายดูดเสมหะเข้าไปในหลอดลมลึกลงไปจนใส่เข้าไปไม่ได้อีกแล้ว ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายปิดรูที่ตัวควบคุมเพื่อดูด และ
     ปล่อยเป็นระยะ โดยดูด 2-3 วินาทีแล้วหยุด ดึงสายขึ้นเล็กน้อยแล้วทำซ้ำ ระหว่างดูดเสมหะถ้าสายดูดไม่มีรูด้านข้าง ให้หมุน
     สายดูดด้วยเพื่อให้ดูดได้ทั่วถึง ใช้เวลาโดยรวมสำหรับการดูดเสมหะแต่ละครั้งประมาณ 15 วินาที หรือชั่วอึดใจของผู้ทำการ
     ดูดเสมหะ เนื่องจากแขนงหลอดลมข้างขวาจะเฉียงน้อยกว่าซ้ายทำให้สายดูดเข้าหลอดลมข้างขวาง่ายกว่า ดังนั้นถ้าต้องการให้
     สายดูดเข้าหลอดลมข้างซ้ายให้หันหน้าผู้ป่วยไปทางขวา

7.  ถ้าผู้ป่วยมีเสมหะมาก ให้ทำการดูดซ้ำอีก 2-3 ครั้ง ถ้ายังไม่หมดให้ต่อออกซิเจนกลับเข้าไปหรือบีบ Ambu TM bag ใหม่
     แล้วจึงทำการดูดเสมหะซ้ำ

8.  เมื่อดูดเสมหะหมดแล้ว ให้ดูดน้ำเปล่าผ่านสายดูดเล็กน้อยก่อนปลดใส่ภาชนะที่ใช้รวบรวมสายดูดหลังใช้งานแล้ว

9.  ถ้าเสมหะเหนียวข้นมาก ให้หยอดน้ำเกลือนอร์มัลปลอดเชื้อประมาณ 2-5 มล . เข้าหลอดลมก่อนดูดเสมหะ จะทำให้ดูดเสมหะ 
     ได้ดีขึ้น

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand