ผล​การศึกษาล่าสุดยืนยันประสิทธิภาพ​และ​ความปลอดภัยของยาซิล​เดนาฟิลซิ​เตรต (ซิเดกร้า) ​ใน​การรักษา​โรคหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ

ผล​การศึกษา​โดยสถาบัน​แพทย์ชั้นนำ 2 ​แห่ง​ในสหรัฐอ​เมริกา​ซึ่ง​ได้รับ​การตีพิมพ์​เมื่อ​เร็วๆนี้ ​ได้ยืนยันประสิทธิภาพของซิล​เดนาฟิล ซิ​เตรต (ซิเดกร้า) ​ใน​การรักษา​โรคหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ

​การศึกษา​แรก​โดย น.พ.​เอส. ดี. ​แคทซ์ ​และ ดำ​เนิน​การ​โดยภาควิชาสรีรวิทยา​การหมุน​เวียน​โลหิต ​และภาควิชา​โรคหัว​ใจ คณะ​แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย​โคลัม​เบีย, ​แห่งนครนิวยอร์ค ​ซึ่ง​เฝ้าดูผล​การ​ใช้ซิล​เดนาฟิล ซิ​เตรต ต่อ​การหมุน​เวียน​โลหิต​ใน​ผู้ป่วย​โรคหัว​ใจล้ม​เหลว​เรื้อรัง

ปัจจุบัน ​แพทย์ส่วนมากยอมรับว่า​โรคหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ ​และ​โรคหัว​ใจบางประ​เภทนั้นมีปัจจัย​เสี่ยง​เดียวกัน ​และ​โดยมาก​เกิดร่วมกัน  ​การศึกษาก่อนหน้านี้​ก็ยังยืนยันด้วยว่า อา​การหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศพบ​ใน​ผู้ป่วย​โรคหัว​ใจสูงกว่าที่​เกิด​ในกลุ่มประชากรทั่ว​ไป

ผล​การวิจัย​ในกลุ่มนิวยอร์ค​ได้ศึกษา ชาย 39 คน ​และหญิง 9 คนที่มีอา​การ​โรคหัว​ใจล้ม​เหลว ​โดยมีชาย 8 คน ​และหญิง 4 คนที่​ไม่​เคยมีประวัติ​โรคหัว​ใจ​เป็นกลุ่มควบคุม​เพื่อ​ให้​เกิดตัว​เปรียบ​เทียบ​ใน​การรักษา​และ​การวัดผลต่างๆ  ​การศึกษานี้กระ​ทำ​โดย​การ​เพิ่มปริมาณซิล​เดนาฟิล ซิ​เตรต จำนวนมาก ​ถึง 3 ระดับ พบว่า ยาซิล​เดนาฟิล ซิ​เตรต ขนาด 25 มิลลิกรัม ​และ 50 มิลลิกรัม นั้น​เพิ่ม​การขยายตัวของ​เส้น​เลือดจากกล​ไก​การขยายตัวผ่านขบวน​การของ​เซลบุผนังหลอด​เลือด ​ใน​ผู้ป่วย​โรคหัว​ใจล้ม​เหลว​เรื้อรัง นอกจากนี้ ยังพบว่า ​การ​ไหล​เวียนของ​เลือดนั้นดีขึ้นอย่างรวด​เร็ว  ยาซิล​เดนาฟิล ซิ​เตรต นั้น ยังมีรายงานด้วยว่า​ในกลุ่ม​ผู้ป่วยที่ศึกษานั้นทนต่อยา​ได้ดี ​ไม่​เกิด​การ​เปลี่ยน​แปลง ​ทั้งอัตรา​การ​เต้นหัว​ใจ​และ​ความดัน​โลหิต

​การศึกษาที่สองนั้นดำ​เนิน​การ​โดย​การริ​เริ่มของที่ประชุมพรินซตัน คอน​เซนซัส  (Princeton Consensus Conference) พบว่า ​ใน​ผู้ป่วยที่ต้อง​การรับ​การรักษา​โรคหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศมีอา​การ​และ​เป็น​โรคหัว​ใจจำนวนมาก ​จึงมี​ความจำ​เป็น​ใน​การพัฒนาคู่มือ​แพทย์​หรือ​แนวทาง​ใน​การรักษา​ผู้ป่วย ​การศึกษา​ได้​เป็นภาวะต่างๆ ที่​เกี่ยวกับ​โรคหัว​ใจ​โดย​เสนอ​แนวทางที่​เข้า​ใจง่ายสำหรับ​แพทย์​ใน​การดู​แล​ผู้ป่วยที่มี​ความ​เสี่ยงต่อ​โรคหัว​ใจ​ในระดับต่างๆ กัน  คำ​แนะนำ​เหล่านี้รวม​ถึง​การ​ให้มี​การประ​เมินพฤติกรรมทาง​เพศ ​ใน​การตรวจร่างกายครั้ง​แรกของ​ผู้ป่วยทุกราย​ในครั้ง​แรกที่ตรวจ​เช็ค​โรคหัว​ใจ

​การประ​เมินขั้นต่อ​ไป คือ ​การ​แบ่ง​ผู้ป่วยออก​เป็นกลุ่มตามที่ระดับ​ความ​เสี่ยงต่อ​โรคหัว​ใจ​ในระดับสูง ปานกลาง ​และต่ำ  ​ผู้ป่วยส่วน​ใหญ่ที่มี​ความ​เสี่ยงต่ำสามารถดำ​เนินกิจกรรมทาง​เพศต่อ​ไป​ได้​และสามารถ​เข้ารับ​การรักษาอา​การหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ​ได้​เลย  ​ผู้ป่วยที่มี​ความ​เสี่ยงสูงนั้นจำ​เป็นต้อง​ได้รับ​การรักษาอา​การของ​โรคหัว​ใจ​ให้อยู่​ในระดับที่ปลอดภัย​เสียก่อน​จึงจะสามารถดำ​เนินกิจกรรมทาง​เพศต่อ​ไป​ได้ ​หรือ​ได้รับ​การรักษาอา​การหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ ​ในทุกรายควรมี​การตรวจหลังจาก​การรักษา​เพื่อติดตามผล​ในทุกขั้นตอน

​การศึกษานี้สรุปว่า วิธี​การรักษา​โรคหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ ​และอา​การ​เสื่อมสมรรถภาพทาง​เพศอื่นๆ ที่มีอยู่​ในปัจจุบันนี้ ปลอดภัย​และมีประสิทธิภาพ​ใน​ผู้ป่วย​ทั้ง​ผู้ที่มี​หรือ​ไม่มีอา​การ​โรคหัว​ใจ  อย่าง​ไร​ก็ตาม ห้าม​ใช้ยาซิล​เดนาฟิล ซิ​เตรต ​ใน​ผู้ป่วย​โรคหัว​ใจที่​ใช้ยา​ไน​เตรตอยู่

กิจกรรมทาง​เพศนั้น​เป็นส่วนสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของทุกคน จากข้อมูลทางระบาดวิทยานั้นชี้​ให้​เห็นว่า ปัญหาทาง​เพศนี้​ได้​เพิ่มขึ้น ​และมีผลต่ออารมณ์ คุณภาพชีวิต ​ความสัมพันธ์​ในครอบครัว  ปัญหาทาง​เพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย ​ได้​แก่ ​ความผิดปกติของ​ความต้อง​การทาง​เพศ ​การ​เร้าอารมณ์​เพศ​และ/​หรือ​การ​แข็งตัวของอวัยวะ​เพศ ​ความผิดปกติของ​การ​ถึงจุดสุดยอด​และ​การหลั่งน้ำกาม
สำหรับ​ผู้ที่ต้อง​การ​เอกสาร​แนะนำข้อมูล​และคำปรึกษา​โดย​ไม่คิดมูลค่า ​โปรดติดต่อ :

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพชาย ​โทร. 635-1001 ​โทรสาร 650-8455 ​หรือ ตู้ ป.ณ. 2513 กทม. 10501 ​หรือ http://menhealth.pfizer.co.th  จดหมาย​และคำถามต่างๆที่ส่งมายังศูนย์ฯจะถูก​เ​ก็บ​เป็น​ความลับ
ต้อง​การข้อมูล​เพิ่ม​เติม กรุณาติดต่อ
ปองปรัชญ์ สุ​โรจนะ​เมธากุล / นิ​โลบล ​โควาพิทักษ์​เทศ
บริษัท ​แชนด์วิค อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล (ประ​เทศ​ไทย) จำกัด
​โทรศัพท์  257 0300
​โทรสาร  257 0312

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand